ไม้ไพน์ครอส เป็นไม้ธรรมชาติที่ได้จากป่าปลูก ผ่านกระบวนการอบแห้ง และการอัดน้ำยากันปลวก มอด แมลง และกันเชื้อราอย่างพิถีพิถัน ตามหลักวิศวกรรม และตามหลักมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9002 จากประเทศนิวซีแลนด์ ไม้ไพน์ครอสเป็นไม้ธรรมชาติที่ทนกับสภาวะอากาศที่แปรเปลี่ยน และการผุพังอันเนื่องจากปลวก ด้วยการรับประกันคุณภาพนานถึง 25 ปี (CCA treatment)

1. กระบวนการผลิตเริ่มจากการตัดต้นไม้เพื่อให้ได้ซุงจากป่าสนปลูก พันธุ์เรดิเอต้า (Radiata Pine)
2. ทำการคัดต้นซุง ปอกเปลือกและเลื่อยออก เป็นแผ่นไม้ หรือไม้แปรรูปให้ได้ขนาดและความยาวที่ต้องการ
3. นำแผ่นไม้ที่ได้ไปอบแห้ง (Kiln Dried) เพื่อนำน้ำ และความชื้นออกจากไม้ ลดการบิดงอ รักษาสภาวะและรูปทรงของไม้ได้อย่างสม่ำเสมอ และแข็งแรง
4. คัดแยกเกรดของไม้โดยหลักการรับแรงตามหลักวิศวกรรมทั้งในลักษณะการดูด้วยตาของผู้ชำนาญการ (Visually Graded Structural Timber) เพื่อคัดเลือกความสวยงามของไม้ และการอ่านค่าความแข็งแรงด้วยเครื่อง (Machine-Graded Structural Timber)
5. จากนั้นเข้าสู่กระบวนการรักษาเนื้อไม้ ป้องกันการผุ และป้องกันปลวก ซึ่งกระทำได้หลายวิธี ได้แก่
• การใช้น้ำยา LOSP (Light Organic Solvent Preservative) หรือการอัดใส (Solvent based) ซึ่งเป็นวิธีที่ ไพน์ครอสเลือกใช้กับไม้ที่ต้องการการสวยงามเป็นพิเศษ ปลอดภัยในขบวนการผลิต และการใช้งานที่ใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยอันเนื่องจากไม่มีสารประเภท Chrome Copper หรือ Arsenic อายุการใช้งานจะสั้นกว่า CCA treated เล็กน้อย ด้วยวิธีของ LOSP จึงทำให้ไม้ที่ได้ออกมา สวย ใส เห็นสีไม้ธรรมชาติที่ผ่อง เนียน เป็นสีทอง
• การใช้น้ำยา CCA (Copper Chromium Arsenate) หรือการอัดเขียว (Water based) ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ไพน์ครอสเลือกใช้กับไม้ที่ใช้สำหรับงานโครงสร้าง ไม้ที่ได้จะเป็นสีเปื้อนเขียวอันเกิดจากสีของน้ำยา หากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้ มาตรฐานจะทำให้ไม้ที่ได้ออกมาเป็นสีกระดำ กระด่าง มีสารปนเปื้อนซึ่งอาจเป็น อันตรายในการใช้งาน ระดับความเข้มข้นของน้ำยาจะสูงมากขึ้น หากการใช้งาน มีความเสี่ยงจากการผุ หรือปลวกมีมากขึ้น กล่าวคือ
- LOSP H3 หรือ CCA H3 จะเหมาะกับการทำงานเหนือพื้นดิน
- CCA H4 จะเหมาะกับการทำงานสัมผัสพื้นดิน พื้นผิวชื้นแฉะ หรือบริเวณน้ำขัง
ในระดับน้ำที่ไม่สูงนัก มีโอกาสแห้งได้ด้วยแสงแดด และยังสามารถปักลงไป ในดินได้
- CCA H5 จะเหมาะกับการทำงานปักลงไปในดินที่มีน้ำใต้ชั้นผิวดินเป็นน้ำจืด หรือปักลงในน้ำจืด
- CCA H6 จะเหมาะกับการทำงานปักลงไปในดินที่มีน้ำใต้ชั้นผิวดินเป็นน้ำเค็ม หรือปักลงในน้ำทะเล
6. ขั้นตอนก่อนการขนส่ง
สุดท้าย หากเป็นการ อัดใส หรือ LOSP สามารถบรรจุแพ็ค และจัดจำหน่าย ได้เลย
แต่ถ้าหากเป็น อัดเขียว หรือ CCA จะต้องมีการ อบแห้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไล่น้ำออก ซึ่งจะมีข้อเสียคือไม้จะหดตัวอีกครั้งหนึ่ง การคงตัวหลังการใช้งาน และการคงรูป จะต่ำกว่าไม้ที่ใช้กระบวนการของ LOSP จากนั้นจึงบรรจุแพ็ค และจัดจำหน่าย